ท่าม กลางกระแสการตื่นตัวของการเปิดเสรีอาเซียน
หลาย ๆ ฝ่ายกำลังเร่งพัฒนาตัวเองด้านภาษาอังกฤษ เพื่อให้ทันต่อความต้องการของโลกกว้างที่จะโอบรัดประเทศเข้าสู่ประชาคม
เศรษฐกิจอาเซียนในอีกไม่ถึง 3 ปีข้างหน้า เช่นเดียวกับหลาย ๆ ครอบครัวที่เล็งเห็นความสำคัญ
และพยายามสรรหาโรงเรียน หรือสถาบันสอนภาษาเพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ลูกตั้งแต่เล็ก
ๆ เนื่องจากมีความเชื่อว่า หากใครรู้ภาษาย่อมมีภาษีที่ดีกว่า โดยเฉพาะโอกาส และความก้าวหน้าในอาชีพการงาน
แต่ในอีกด้านของการเปิดประตูสู่ประชาคมอาเซียน นักวิชาการด้านการศึกษา และผู้เชี่ยวชาญหลายๆ ท่าน มองว่า ไม่ใช่แค่เรื่องภาษาอย่างเดียวที่ควรให้ความสำคัญกับเด็ก ยังมีทักษะชีวิตด้านอื่น ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่ และ ผู้ใหญ่ในสังคมควรให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ ด้วย โดยเฉพาะทักษะในการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างเชิงวัฒนธรรม
บอกเล่าได้จาก ดร.วรนาถ รักสกุลไทย ผู้อำนวยการแผนกอนุบาล โรงเรียนเกษมพิทยา ในฐานะนักการศึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กปฐมวัย ให้ทัศนะว่า ผู้ใหญ่หลาย ๆ คนกำลังหลงทางเรื่องอาเซียน อย่างแรกเลยก็คือ ภาษาอังกฤษที่ครู และพ่อแม่ต่างมุ่งเน้น และส่งลูกไปเรียนเพื่อหวังจะให้สื่อสารได้ แต่สำหรับเด็กเล็ก หรือเด็กอนุบาล ทักษะเริ่มต้นในการเตรียมรับอาเซียน คือ ความเป็นมิตรภาพ รู้จักยอมรับ และเคารพในความหลากหลาย นอกจากนั้น เด็กควรได้ฝึกคิดและวิเคราะห์แทนการท่องจำ เช่น ถ้าอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พวกเขาควรจะทำอย่างไรให้หนีและรอดชีวิตออกมาได้
"ทุกวันนี้หลายๆ ครอบครัวมุ่งเน้นภาษาอังกฤษมากจนลืมทักษะชีวิตด้านอื่นๆ ไป เช่น ความเคารพในความเป็นมนุษย์ของกันและกัน เข้าใจในศักดิ์ศรีความมีคุณค่า และการเปิดใจยอมรับความแตกต่าง ซึ่งทักษะเหล่านี้ เป็นทักษะสำคัญในการเตรียมเด็กไทยสู่การเป็นพลเมืองอาเซียนที่ดีและมีคุณภาพ หากเด็กไม่ได้เตรียมความพร้อมตั้งแต่เด็ก อาจทำให้เกิดปัญหาต่อการอยู่ร่วมกันในสังคมอาเซียนได้" นักการศึกษา และผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กปฐมวัยท่านนี้เผย
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีหลายๆ โรงเรียนให้ความสำคัญกับการเปิดเสรีอาเซียนที่กำลังมาถึง ด้วยการเปิดห้องเรียนอาเซียน หรือเปิดหลักสูตรอาเซียนศึกษาเพื่อเป็นหลักสูตรสอนเสริมให้แก่เด็ก แต่ภาพการตื่นตัวที่เกิดขึ้น ดร.วรนาถ ยังมองว่า เป็นการเตรียมเด็กสู่อาเซียนแบบหลงทาง
"บางโรงเรียนให้เด็กท่องจำธงประเทศต่างๆ หรือซื้อตุ๊กตาสวมชุดประจำชาติของแต่ละประเทศมาให้เด็กเล่น ซึ่งเป็นการสอนที่ไกลตัวเกินไป แต่แนวการสอนที่ควรจะเป็นคือ การสอนให้เด็กมีทัศนคติที่ดีบนความแตกต่างเสียก่อน เช่น สอนให้เด็กรู้ว่า คนทุกคนมีความแตกต่าง และเราก็ไม่จำเป็นต้องเหมือนคนอื่น หรือถ้ามีความคิดไม่ตรงกัน แทนที่จะโกรธ เกลียด และใช้ความรุนแรงเข้าใส่กัน เราสามารถพูดคุย และช่วยกันหาทางออกได้ ซึ่งการสอนในลักษณะนี้ จะทำให้เด็กรู้จักเคารพในความแตกต่าง ไม่เอาตัวเองเป็นใหญ่" นักการศึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กปฐมวัยให้แนวทาง
ด้าน ผศ.ดร.การดี เลียวไพโรจน์ ผู้อำนวยการสถาบันองค์ความรู้แห่งเอเชีย และ ผู้เชี่ยวชาญด้านอาเซียนศึกษา ให้ความเห็นในเรื่องเดียวกันนี้ว่า ภาษาอังกฤษเป็นทักษะที่จำเป็นต่อเด็ก และคุณพ่อคุณแม่ในอนาคต โดยเฉพาะการมาถึงของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า แต่ในขณะเดียวกัน ต้องไม่ลืมที่จะให้ความสำคัญกับการปลูกฝังให้ลูกมีจิตใจที่เปิดกว้าง และยอมรับความแตกต่างอย่างหลากหลายด้วย เพื่อให้เด็กเติบโตเป็นพลเมืองอาเซียนที่มีความเจริญทางอารยะหรือมีความดี งามในจิตใจ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการนำพาประเทศไปสู่ความเจริญ และยั่งยืนในทุกด้าน
"เราต้องสร้างเด็กให้มีความเจริญทางอารยะ นี่คือสิ่งที่แม่อย่างดิฉันอยากเห็น สัมผัสได้จากประเทศลาว เขาไม่ได้มีเทคโนโลยีอะไรมากมาย แต่ใครที่ได้ไป เชื่อว่าคุณจะรู้สึกได้ว่า ประเทศนี้คือประเทศที่เจริญแล้วอย่างแท้จริง โดยเฉพาะความเจริญที่ใจของคน ดังนั้นการมองอาเซียน อยากให้มองที่การร่วมมือ และเติบโตไปพร้อม ๆ กัน ไม่ใช่มอง หรือเน้นไปที่การแข่งขันว่า ประเทศของฉันจะต้องโดดเด่นเพียงประเทศเดียว" ผู้เชี่ยวชาญด้านอาเซียนศึกษาสะกิดใจผู้ใหญ่ในสังคม
ปิดท้ายกันที่ สุภาวดี หาญเมธี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทรักลูกกรุ๊ป จำกัด ให้มุมมองว่า การที่จะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน นอกจากเรื่องการศึกษา และทักษะทางภาษาที่จะต้องเตรียมให้เด็กแล้ว อีกเรื่องที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม คือ ความฉลาดทางวัฒนธรรม และการมีทัศนคติทางบวกต่อความแตกต่างอย่างหลากหลาย ซึ่งนับเป็นหนึ่งในทักษะสำคัญที่เด็กยุคใหม่ควรมี เพื่อพาตัวเอง และประเทศชาติก้าวไปสู่ความสำเร็จในวันข้างหน้าอย่างสง่างาม
"ถ้าจะเลี้ยงลูกให้สามารถอยู่ได้ในประชาคมอาเซียน ส่วนตัวมองว่า ไม่ใช่แค่ยิ้มสยาม ไม่ใช่แค่พูดภาษาอังกฤษเก่ง และไม่ใช่แค่ใช้เทคโนโลยีเป็น แต่เรื่องใหญ่กว่านั้นคือ ความฉลาดทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นทักษะสำคัญ ในการรู้จักปรับตัวท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงบนความแตกต่าง แต่ทุกวันนี้ ทันทีที่เรานึกถึงพม่า เราจะถึงนึกโสร่งกับมีดดาบก่อนเลย หรือไม่ก็ภาพข่าวแรงงานพม่าปาดคอนายจ้าง แต่เราไม่เคยมองพม่าในมุมอื่นเลย ซึ่งเหตุการณ์ที่มันเกิดขึ้น เพราะเราเองที่ไปย่ำยี หรือกดขี่เขามากเกินไปหรือเปล่า สิ่งเหล่านี้ คือเรื่องเร่งด่วนที่พ่อแม่ควรปลูกฝังให้ลูกรู้เขารู้เรา ยอมรับ ลดอคติ ไม่เอาตัวเองตัดสิน และเคารพในความคิดเห็นของผู้อื่น" คุณสุภาวดีฝาก
ถึงแม้ภาษาอังกฤษจะเป็นเรื่องใหญ่ที่ใครรู้ภาษาย่อมมีภาษีดีกว่า แต่หลายๆ ทักษะในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน โดยเฉพาะการมาถึงของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ที่มาพร้อมกับความหลากหลายทั้งทางวัฒนธรรม และสังคม รวมไปถึงการทำงานในบริบทวัฒนธรรมที่ต่างกันไป หากเด็กไทยถูกปลูกฝังให้มีทัศนคติทางบวก และมีความละเอียดอ่อนแม่นยำในการรับรู้วิถีจารีตในวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน แล้ว โอกาสที่จะเติบโตเป็นพลเมืองอาเซียน และก้าวสู่ความสำเร็จในวันหน้าย่อมมีได้มาก
นับเป็นความท้าท้ายสำหรับคนเป็นพ่อแม่ในยุคนี้ไม่น้อยเลยทีเดียว
แต่ในอีกด้านของการเปิดประตูสู่ประชาคมอาเซียน นักวิชาการด้านการศึกษา และผู้เชี่ยวชาญหลายๆ ท่าน มองว่า ไม่ใช่แค่เรื่องภาษาอย่างเดียวที่ควรให้ความสำคัญกับเด็ก ยังมีทักษะชีวิตด้านอื่น ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่ และ ผู้ใหญ่ในสังคมควรให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ ด้วย โดยเฉพาะทักษะในการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างเชิงวัฒนธรรม
บอกเล่าได้จาก ดร.วรนาถ รักสกุลไทย ผู้อำนวยการแผนกอนุบาล โรงเรียนเกษมพิทยา ในฐานะนักการศึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กปฐมวัย ให้ทัศนะว่า ผู้ใหญ่หลาย ๆ คนกำลังหลงทางเรื่องอาเซียน อย่างแรกเลยก็คือ ภาษาอังกฤษที่ครู และพ่อแม่ต่างมุ่งเน้น และส่งลูกไปเรียนเพื่อหวังจะให้สื่อสารได้ แต่สำหรับเด็กเล็ก หรือเด็กอนุบาล ทักษะเริ่มต้นในการเตรียมรับอาเซียน คือ ความเป็นมิตรภาพ รู้จักยอมรับ และเคารพในความหลากหลาย นอกจากนั้น เด็กควรได้ฝึกคิดและวิเคราะห์แทนการท่องจำ เช่น ถ้าอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พวกเขาควรจะทำอย่างไรให้หนีและรอดชีวิตออกมาได้
"ทุกวันนี้หลายๆ ครอบครัวมุ่งเน้นภาษาอังกฤษมากจนลืมทักษะชีวิตด้านอื่นๆ ไป เช่น ความเคารพในความเป็นมนุษย์ของกันและกัน เข้าใจในศักดิ์ศรีความมีคุณค่า และการเปิดใจยอมรับความแตกต่าง ซึ่งทักษะเหล่านี้ เป็นทักษะสำคัญในการเตรียมเด็กไทยสู่การเป็นพลเมืองอาเซียนที่ดีและมีคุณภาพ หากเด็กไม่ได้เตรียมความพร้อมตั้งแต่เด็ก อาจทำให้เกิดปัญหาต่อการอยู่ร่วมกันในสังคมอาเซียนได้" นักการศึกษา และผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กปฐมวัยท่านนี้เผย
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีหลายๆ โรงเรียนให้ความสำคัญกับการเปิดเสรีอาเซียนที่กำลังมาถึง ด้วยการเปิดห้องเรียนอาเซียน หรือเปิดหลักสูตรอาเซียนศึกษาเพื่อเป็นหลักสูตรสอนเสริมให้แก่เด็ก แต่ภาพการตื่นตัวที่เกิดขึ้น ดร.วรนาถ ยังมองว่า เป็นการเตรียมเด็กสู่อาเซียนแบบหลงทาง
"บางโรงเรียนให้เด็กท่องจำธงประเทศต่างๆ หรือซื้อตุ๊กตาสวมชุดประจำชาติของแต่ละประเทศมาให้เด็กเล่น ซึ่งเป็นการสอนที่ไกลตัวเกินไป แต่แนวการสอนที่ควรจะเป็นคือ การสอนให้เด็กมีทัศนคติที่ดีบนความแตกต่างเสียก่อน เช่น สอนให้เด็กรู้ว่า คนทุกคนมีความแตกต่าง และเราก็ไม่จำเป็นต้องเหมือนคนอื่น หรือถ้ามีความคิดไม่ตรงกัน แทนที่จะโกรธ เกลียด และใช้ความรุนแรงเข้าใส่กัน เราสามารถพูดคุย และช่วยกันหาทางออกได้ ซึ่งการสอนในลักษณะนี้ จะทำให้เด็กรู้จักเคารพในความแตกต่าง ไม่เอาตัวเองเป็นใหญ่" นักการศึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กปฐมวัยให้แนวทาง
ด้าน ผศ.ดร.การดี เลียวไพโรจน์ ผู้อำนวยการสถาบันองค์ความรู้แห่งเอเชีย และ ผู้เชี่ยวชาญด้านอาเซียนศึกษา ให้ความเห็นในเรื่องเดียวกันนี้ว่า ภาษาอังกฤษเป็นทักษะที่จำเป็นต่อเด็ก และคุณพ่อคุณแม่ในอนาคต โดยเฉพาะการมาถึงของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า แต่ในขณะเดียวกัน ต้องไม่ลืมที่จะให้ความสำคัญกับการปลูกฝังให้ลูกมีจิตใจที่เปิดกว้าง และยอมรับความแตกต่างอย่างหลากหลายด้วย เพื่อให้เด็กเติบโตเป็นพลเมืองอาเซียนที่มีความเจริญทางอารยะหรือมีความดี งามในจิตใจ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการนำพาประเทศไปสู่ความเจริญ และยั่งยืนในทุกด้าน
"เราต้องสร้างเด็กให้มีความเจริญทางอารยะ นี่คือสิ่งที่แม่อย่างดิฉันอยากเห็น สัมผัสได้จากประเทศลาว เขาไม่ได้มีเทคโนโลยีอะไรมากมาย แต่ใครที่ได้ไป เชื่อว่าคุณจะรู้สึกได้ว่า ประเทศนี้คือประเทศที่เจริญแล้วอย่างแท้จริง โดยเฉพาะความเจริญที่ใจของคน ดังนั้นการมองอาเซียน อยากให้มองที่การร่วมมือ และเติบโตไปพร้อม ๆ กัน ไม่ใช่มอง หรือเน้นไปที่การแข่งขันว่า ประเทศของฉันจะต้องโดดเด่นเพียงประเทศเดียว" ผู้เชี่ยวชาญด้านอาเซียนศึกษาสะกิดใจผู้ใหญ่ในสังคม
ปิดท้ายกันที่ สุภาวดี หาญเมธี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทรักลูกกรุ๊ป จำกัด ให้มุมมองว่า การที่จะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน นอกจากเรื่องการศึกษา และทักษะทางภาษาที่จะต้องเตรียมให้เด็กแล้ว อีกเรื่องที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม คือ ความฉลาดทางวัฒนธรรม และการมีทัศนคติทางบวกต่อความแตกต่างอย่างหลากหลาย ซึ่งนับเป็นหนึ่งในทักษะสำคัญที่เด็กยุคใหม่ควรมี เพื่อพาตัวเอง และประเทศชาติก้าวไปสู่ความสำเร็จในวันข้างหน้าอย่างสง่างาม
"ถ้าจะเลี้ยงลูกให้สามารถอยู่ได้ในประชาคมอาเซียน ส่วนตัวมองว่า ไม่ใช่แค่ยิ้มสยาม ไม่ใช่แค่พูดภาษาอังกฤษเก่ง และไม่ใช่แค่ใช้เทคโนโลยีเป็น แต่เรื่องใหญ่กว่านั้นคือ ความฉลาดทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นทักษะสำคัญ ในการรู้จักปรับตัวท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงบนความแตกต่าง แต่ทุกวันนี้ ทันทีที่เรานึกถึงพม่า เราจะถึงนึกโสร่งกับมีดดาบก่อนเลย หรือไม่ก็ภาพข่าวแรงงานพม่าปาดคอนายจ้าง แต่เราไม่เคยมองพม่าในมุมอื่นเลย ซึ่งเหตุการณ์ที่มันเกิดขึ้น เพราะเราเองที่ไปย่ำยี หรือกดขี่เขามากเกินไปหรือเปล่า สิ่งเหล่านี้ คือเรื่องเร่งด่วนที่พ่อแม่ควรปลูกฝังให้ลูกรู้เขารู้เรา ยอมรับ ลดอคติ ไม่เอาตัวเองตัดสิน และเคารพในความคิดเห็นของผู้อื่น" คุณสุภาวดีฝาก
ถึงแม้ภาษาอังกฤษจะเป็นเรื่องใหญ่ที่ใครรู้ภาษาย่อมมีภาษีดีกว่า แต่หลายๆ ทักษะในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน โดยเฉพาะการมาถึงของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ที่มาพร้อมกับความหลากหลายทั้งทางวัฒนธรรม และสังคม รวมไปถึงการทำงานในบริบทวัฒนธรรมที่ต่างกันไป หากเด็กไทยถูกปลูกฝังให้มีทัศนคติทางบวก และมีความละเอียดอ่อนแม่นยำในการรับรู้วิถีจารีตในวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน แล้ว โอกาสที่จะเติบโตเป็นพลเมืองอาเซียน และก้าวสู่ความสำเร็จในวันหน้าย่อมมีได้มาก
นับเป็นความท้าท้ายสำหรับคนเป็นพ่อแม่ในยุคนี้ไม่น้อยเลยทีเดียว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น