วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สรุปแล้ว! เด็กหญิง 2 ขวบตาย ติดเชื้อมือเท้าปากชนิดรุนแรง

รอผลตรวจเด็ก 2 ขวบ ชี้ชัดโรคมือเท้าปาก วันนี้


ช่วงบ่ายของวันนี้ (24 กรกฎาคม) ทางผู้เชี่ยวชาญกรมควบคุมโรค ได้มีมติสรุปผลการสอบสวนวินิจฉัยโรคว่า เด็กหญิงวัย 2 ขวบครึ่งที่เสียชีวิต ในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปาก ชนิดรุนแรง 

       
 เกี่ยวกับเรื่องนี้ ทางนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เปิดเผยว่า ขณะนี้ โรคดังกล่าวมีการแพร่ระบาดในประเทศไทยแล้ว จำนวน 14,000 คน ส่วนการเสียชีวิตของเด็กหญิงวัย 2 ขวบครึ่งนั้น เบื้่องต้นสามารถคุมสถานการณ์ของโรคได้แล้วในระดับหนึ่ง และได้กำชับให้ 3 กระทรวง ประกอบไปด้วย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงศึกษาธิการ หามาตรการป้องกันในพื้นที่

        ขณะที่ นางสาวศันสนีย์ นาคพงศ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้รายงานสถานการณ์โรค มือ เท้า ปาก ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ในวันนี้ว่า ยังไม่พบว่าโรคดังกล่าวจะเกิดการกลายพันธุ์แต่อย่างใด และสถานการณ์ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีการแพร่ระบาดของโรงนี้ลดลง แต่ทั้งนี้ คาดว่าเชื้อจะยังอยู่อีกประมาณ 6 สัปดาห์ 

        ท้ายนี้ รายงานระบุว่า สถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก ในประเทศไทย ขณะนี้มีจำนวน 14,000 คน ประเทศเวียดนามมีผู้ป่วยประมาณ 63,000คน ประเทศสิงคโปร์มีผู้ป่วย 20,000 คน และจีนมีผู้ป่วย  1.2 ล้านคน

สธ. ยัน ไม่ได้กั๊กข้อมูล บอกก่อนหน้านี้ยังไม่ได้สรุปผล


          สธ. ยันไม่ได้กั๊กข้อมูล คาดอีก 6 สัปดาห์ คุมสถานการณ์ได้ ขณะที่โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ เปิดวันแรกพบเด็กเข้าข่ายอีก 3 คน

          วานนี้ (23 กรกฎาคม) นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้กล่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคมือ เท้า ปาก โดยยืนยันว่า ทาง สธ. ไม่เคยปกปิดหรือปิดบังข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้เลย เพราะตั้งแต่ที่ประเทศกัมพูชามีโรคดังกล่าวระบาด ทาง สธ. ก็มีการรณรงค์ให้รับมือ ส่วนการที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ออกมาพูดว่า ยังไม่มีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้นั้นก็เป็นเรื่องจริง ไม่ใช่การให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนหรือผิดพลาด เพราะช่วงเวลานั้น ยังไม่มีการรายงานการเสียชีวิตอย่างชัดเจน

       
    รมว.สาธารณสุข กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่เด็กหญิงวัย 2 ขวบเสียชีวิต ได้เก็บการตรวจจากหลายส่วน ทั้ง ปาก คอ อุจจาระ น้ำในไขสันหลัง ส่วนบางรายหากมีอาการทางหัวใจ ก็จะต้องเก็บชิ้นเนื้อหัวใจไปตรวจเพิ่มเติมด้วย ซึ่งผลทางห้องปฏิบัติการอย่างเดียวนั้น ไม่เพียงพอที่จะสรุปได้ จึงต้องดูหลายส่วนประกอบกัน ซึ่งในปีนี้ผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก ส่วนใหญ่ยังเป็นค็อกซากี และพบเอนเทอโรไวรัส ชนิดบี 5 เป็นส่วนใหญ่ แต่พบว่าแม้จะเป็นเชื้อเอ 4 ก็ไม่ใช่ว่าผู้ป่วยจะเสียชีวิตทุกราย เพราะขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของเด็กและการเข้าถึงการรักษาด้วย


สธ. เร่งถกรับมือ คาดอีก 6 สัปดาห์คุมสถานการณ์ได้

          นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้กล่าวถึงการหารือเพื่อติดตามสถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก ว่า หลังจากที่หารือกับคณะทำงานได้สรุปเป็นรูปธรรมชัดเจนแล้วว่า โรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคที่พบมากกว่า 10 ปี ทำให้รู้ว่าเกิดจากการติดต่ออย่างไร ซึ่งการระบาดยังจะเกิดขึ้นอีกระยะหนึ่ง แต่ทาง สธ.จะพยายามทำทุกอย่าง เพื่อให้โรคนี้ระบาดน้อยที่สุด และเกิดการเสียชีวิตน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ได้ส่งหนังสือไปยังกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย และนายแพทย์สาธารณสุขทุกจังหวัด เพื่อให้ติดตามสถานการณ์และป้องกันแก้ไขปัญหาอย่างถูกวิธีแล้ว

          
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ยังกล่าวอีก ทาง สธ. ไม่ได้ปล่อยให้โรคนี้ระบาดขึ้นเรื่อย ๆ และตอนนี้ก็ได้ติดตามสถานการณ์ เพื่อเฝ้าระวังมาโดยตลอด แต่ตามปกติของการระบาดนั้น จะเกิดขึ้นสูงในช่วงฤดูฝน ซึ่งทาง สธ. คาดว่า จะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ดีขึ้น ภายใน 6 สัปดาห์ ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าว ก็เหมือนโรคไข้หวัดใหญ่ ที่เมื่อระบาดแล้ว ผู้ป่วยก็จะเพิ่มจำนวนขึ้นในช่วงหนึ่ง จากนั้นก็จะสงบลง

กทม. สรุปตัวเลข ป่วยเกือบ 3 พันคน

          นายวสันต์ มีวงษ์ โฆษกกรุงเทพมหานคร ได้รายงานว่า สถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก ในกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - กรกฎาคม พบมีผู้ป่วยสะสมจำนวน 2,979 ราย โดยในเดือนกรกฎาคม มีผู้ป่วยสูงสุดถึง 1,022 ราย และยังไม่มีผู้เสียชีวิต สำหรับเขตที่มีอัตราป่วยมากที่สุดคือ หลักสี่ รองลงมาเป็น ทวีวัฒนา นอกจากนี้ รายงานยังระบุว่า แนวโน้มผู้ป่วยใหม่เริ่มลดลง และคาดว่าในสัปดาห์นี้เป็นต้นไปจนถึงเดือนสิงหาคม อัตราการป่วยจะลดลง

สาธิต มศว สั่งปิด กันเชื้อระบาด - สาธิตจุฬาฯ ป่วยเพิ่มอีก 3

          นางสุขุมาล เกษมสุข ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ประสานมิตร ฝ่ายประถม กล่าวว่า ในส่วนของโรงเรียนสาธิต มศว ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่า มีนักเรียนป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปาก เพิ่มขึ้นหรือไม่ แต่ยอมรับว่ามีนักเรียนหยุดเรียนไปบ้างแล้ว ทั้งที่เป็นวันสุดท้ายของการสอบกลางภาค โดยโรงเรียนมีมาตรการป้องกันให้นักเรียนล้างมือด้วยเจลฆ่าเชื้อก่อนเข้าสอบ อย่างไรก็ตาม ทางโรงเรียนจะปิดการสอนตั้งแต่วันที่ 24-27 กรกฎาคม เพื่อตัดวงจรเชื้อโรคและทำความสะอาดโรงเรียนครั้งใหญ่

        
  ขณะที่ โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม ได้เปิดเรียนในวันที่ 23 กรกฎาคม เป็นวันแรก หลังจากที่ปิดเรียนไปตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ทั้งนี้ จากการตรวจร่างกายนักเรียน พบนักเรียนเข้าข่ายป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปาก จำนวน 3 คน โดยทางครูได้แจ้งให้กับผู้ปกครองมารับนักเรียนดังกล่าวกลับบ้าน ส่วนการเรียนการสอน ก็ต้องดำเนินต่อไป และให้ครูประจำชั้นสังเกตอาการนักเรียนอย่างใกล้ชิด ถ้าหากพบความผิดปกติให้แจ้งกับหน่วยพยาบาลเพื่อดูแลต่อไป

สรุปทั่วประเทศปิดแล้ว 20 โรงเรียน

          นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า โรงเรียนสังกัด สพฐ.ที่ได้รับผลกระทบจากโรคมือ เท้า ปาก ตั้งแต่วันที่ 16- 20 กรกฎาคม มีนักเรียนได้รับผลกระทบ 387 คน ครอบคลุม 67 โรงเรียน 39 เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) มีโรงเรียนปิดเรียนทั้งในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดรวม 20 โรงเรียน ส่วนกรณีของโรงเรียนพบเด็กติดเชื้ออีก ทางโรงเรียนต้องพิจารณาและสั่งปิดเรียนทันที

          นายชินภัทร กล่าวต่อว่า จากรายงาน ระบุว่า ขณะนี้ทางจังหวัดต่าง ๆ ได้ส่งรายงานผู้ป่วย ดังนี้

http://img.kapook.com/image/icon/48be2683.gif  จังหวัดกาฬสินธุ์ 135 ราย
http://img.kapook.com/image/icon/48be2683.gif  จังหวัดนครราชสี 478 ราย 
http://img.kapook.com/image/icon/48be2683.gif  จังหวัดสุรินทร์ 218 ราย
http://img.kapook.com/image/icon/48be2683.gif  จังหวัดชัยภูมิ 172 ราย
http://img.kapook.com/image/icon/48be2683.gif  จังหวัดบุรีรัมย์ 161 ราย
http://img.kapook.com/image/icon/48be2683.gif  จังหวัดแม่ฮ่องสอน 27 ราย
http://img.kapook.com/image/icon/48be2683.gif  จังหวัดพิจิตร  201 ราย
http://img.kapook.com/image/icon/48be2683.gif  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  54 ราย


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก 
http://img.kapook.com/image/Logo/inn_logo.jpg, http://img.kapook.com/image/Logo/khaosod.jpg

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น