วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สมรรถภาพพื้นฐานของครู ด้านคุณลักษณะและเจตคติ


  คุณลักษณะของครูที่ดีมีหลายประการ และมีหลายทัศนะ
                  ทัศนะแรกเป็นกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระราชทานแก่ครูอาวุโสประจำปี 2522 เมื่อ 28 ตุลาคม พ.ศ.2523 ณ ศาลาดุสิดาลัยสวนจิตรดาพระราชวังดุสิต ความตอนหนึ่งว่า
                  “...ครูที่แท้นั้นเป็นผู้ทำแต่ความดี คือต้องหมั่นขยันและอุสาหะพากเพียรต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละต้องหนักแน่น อดกลั้นและอดทน ต้องรักษาวินัย... ต้องปลีกตัวปลีกใจจากความสะดวกสบายและความสนุกรื่นเริงที่ไม่สมควรแก่เกียรติภูมิของตน... ต้องซื่อสัตย์รักษาความจริงใจต้องเมตตาหวังดีต้องวางใจเป็นกลางไม่ปล่อยไปตามอำนาจอคติ...”
คุณลักษณะของครูที่ดี 10 ประการ
        1. ความมีระเบียบวินัย หมายถึง ความประพฤติ ทั้งทางกายและวาจาและใจ ที่แสดงถึงความเคารพในกฎหมาย ระเบียบประเพณีของสังคม และความประพฤติที่สอดคล้องกับอุดมคติหรือความหวังของตนเอง โดยให้ยึดส่วนรวมสำคัญกว่าส่วนตัว
       2. ความซื่อสัตย์สุจริตและความยุติธรรม หมายถึง การประพฤติที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่เอาเปรียบ หรือคดโกงผู้อื่นหรือส่วนรวม ให้ยึดถือหลักเหตุผล ระเบียบแบบแผนและกฎหมายของสังคมเป็นเกณฑ์
     3. ความขยัน ประหยัด และยึดมั่นในสัมมาอาชีพ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่ทำให้เสียเวลาชีวิตและปฏิบัติกิจอันควรกระทำให้เกิดประโยชน์แก่ตนและสังคม
    4. ความสำนึกในหน้าที่และการงานต่าง ๆ รวมไปถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่เอารัดเอาเปรียบสังคมและไม่ก่อความเสียหายให้เกิดขึ้นแก่สังคม
    5. ความเป็นผู้มีความคิดริเริ่ม วิจารณ์และตัดสินอย่างมีเหตุผล หมายถึง ความประพฤติในลักษณะสร้างสรรค์และปรับปรุงมีเหตุมีผลในการทำหน้าที่การงาน
     6. ความกระตือรือร้นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีความรักและเทิดทูน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หมายถึง ความประพฤติที่สนับสนุนและให้ความร่วมมือ ในการอยู่ร่วมกันโดยยึดผลประโยชน์ของสังคมให้มากที่สุด
     7. ความเป็นผู้มีพลานามัยที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ หมายถึง ความมั่นคงและจิตใจ รู้จักบำรุงรักษากายและจิตใจให้สมบูรณ์ มีอารมณ์แจ่มใสมีธรรมะอยู่ในจิตใจอย่างมั่นคง
     8. ความสามารถในการพึ่งพาตนเองและมีอุดมคติเป็นที่พึ่ง ไม่ไว้วานหรือขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นโดยไม่จำเป็น
     9. ความภาคภูมิและการรู้จักทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และทรัพยากรของชาติ หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกซึ่งศิลปะและวัฒนธรรมแบบไทย ๆ มีความรักและหวงแหนวัฒนธรรมของตนเองและทรัพยากรของชาติ
    10. ความเสียสละ และเมตตาอารี กตัญญูกตเวที กล้าหาญ และความสามัคคีกัน หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกถึงความแบ่งปัน เกื้อกูลผู้อื่น ในเรื่องของเวลากำลังกายและกำลังทรัพย์

เจตคติของครูที่มีต่อวิชาชีพครู


                  ผู้ประกอบาอาชีพครูต้องมีคุณลักษณะและคุณสมบัติที่สำคัญหลายประการ ผู้ประกอบอาชีพครูควรมีเจตคติที่ดีต่อคุณลักษณะและคุณสมบัติที่สำคัญๆ นั้นๆ ด้วย จึงจะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานก่อให้เกิดผลดีต่อสังคมและประเทศชาติ เจตคติที่ดีต่อคุณลักษณะและคุณสมบัติของอาชีพครูมีหลายประการซึ่งอาจจำแนกได้ดังต่อไปนี้คือ
     1.เจตคติที่ดีต่อลักษณะอาชีพของครู ผู้ประกอบอาชีพครูต้องมีความเสียสละ มีเมตตากรุณา และต้องมีความอดทนอดกลั้นเป็นอย่างยิ่ง ครูควรมีความภูมิใจในอาชีพของตน ไม่ควรคิดว่าต่ำต้อยหรือด้อยเกียรติในสังคม
    2.เจตคติที่ดีต่อลักษณะการเป็นครู ผู้ประกอบอาชีพครูควรเป็นผู้รอบรู้ทันสมัย ขยันขันแข็ง มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง
     3.เจตคติที่ดีต่อนักเรียน ผู้ประกอบอาชีพครูต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก รักและเอ็นดูเด็ก ให้อภัยและช่วยเหลือเด็กอยู่เสมอ
     4.เจตคติที่ดีต่อการเรียนการสอน ผู้ประกอบอาชีพครูต้องมีความรู้สึกรักการสอน มีการเตรียมการสอนที่ดี มีเทคนิคและมีวิธีการสอนที่หลากหลายให้นักเรียนมีความรู้ และมีความเข้าใจในเนื้อหาวิชาอย่างกว้างขวางชัดเจน พร้อมทั้งมีการปรับปรุงการสอนอยู่เสมอ
     5.เจตคติที่ดีต่อความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานของครู อาชีพครูทุกอาชีพมีความเจริญก้าวหน้าทั้งสิ้น ถ้าผู้ประกอบอาชีพมีความตั้งใจอย่างเต็มกำลังความสามารถและยังผลให้งานนั้นสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีอย่างมีประสิทธิภาพ
                เจตคติที่ดีต่อวิชาชีพครูมีความสำคัญบุคคลที่เป็นครู และผู้ศึกษาวิชาชีพครูเพื่อจะไปเป็นครูในอนาคต เพราะเมื่อบุคคลเกิดเจตคติที่ดีต่องานของตนหรือพอใจในงานที่ตนทำอยู่ ย่อมทำให้ทำงานอย่างมีความสุข และมีความตั้งใจในการทำงานอย่างดีที่สุด ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า เจตคติที่ดีวิชาชีพครูมีความสำคัญมากดุจเดียวกันกับโครงเหล็กภายในที่ช่วยยึดอาคารให้มั่นคงแข็งแร


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น